วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การตรวจสุขภาพประจำปี (ต่อ)


การตรวจสุขภาพจะมีการตรวจอะไรบ้างเรามาดูกันครับ

การตรวจเลือด (Blood Analysis)
1. ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด(CBC) ทำให้ทราบปริมาณของเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดเเดงเเละเกร็ดเลือดได้ ทำให้ทราบว่ามีโรคซีด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือเกร็ดเลือดผิดปกติหรือไม่
2. ตรวจหาหมู่เลือด(ABO Blood Group) ก่อน การให้เลือดทุกครั้ง ต้องมั่นใจว่าหมู่เลือดผู้ให้เเละผู้รับตรงกัน การทราบหมู่เลือดมีประโยชน์หากมีกรณีฉุกเฉิน ต้องได้เลือดเป็นการด่วน
3. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด( FBS) ทำ ให้ทราบว่ามีเบาหวาน หรือเริ่มมีน้ำตาลในเลือดสูงก่อนการเป็นเบาหวานเเล้วหรือยัง ซึ่งทุกคนควรตรวจหาเบาหวานเมื่ออายุ 45 ปีขึ้นไป หรือถ้ามีปัจจัยเสี่ยงเช่น อ้วน มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน มีประวัติเป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ มีไขมันในเลือดสูง ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่อายุน้อยกว่า 45 ปี
4. ตรวจการทำงานของตับ(AST,ALT,ALP)เพื่อดูความผิดปกติของตับเเละทางเดินน้ำดี เช่น ถ้ามีเอมไซม์ตับสูงเเสดงว่ามีตับอักเสบ เป็นต้น
5. ตรวจการทำงานของไต(BUN,Cr) เพื่อดูว่ามีโรคไตหรือไม่ ถ้าค่าสูงเเสดงว่าไตทำงานผิดปกติ
6. ตรวจโรคเก๊าท์(uric acid)หาก มีกรดยูริคในเลือดสูง ต้องระวังโรคเก๊าท์ ซึ่งเป็นโรคที่มีอาการปวดข้อ จากการที่มีผลึกยูเรตในข้อเเละทำให้เกิดการอักเสบตามมา ผู้ที่มีกรดยูริค ในเลือดสูง ควรต้องหลีกเลี่ยงการดื่มอัลกอฮอล์ งดรับประทานสัตว์ปีกเเละหลีกเลี่ยงผักบางชนิด เช่นกระถิน สะตอ ชะอม เป็นต้น
7. ตรวจไขมันคลอเลสเตอรอล(Cholesterol) ถ้าสูงจะเป็นสาเหตุของโรคเส้นเลือดเเดงตีบ เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดสมองตีบ เป็นต้น การทราบว่ามีไขมันในเลือดสูง ทำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนอาหาร เเละออกกำลังกาย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงจากโรคข้างต้น
8. ตรวจไขมันไตรกลีเซอไรด์(Triglyceride) ถ้าสูงมากจะเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเส้นเลือดเเดงตีบเช่นกัน เเละอาจเป็นสาเหตุของโรคตับอ่อนอักเสบได้
9. ตรวจหาไขมันที่ดี(HDL) เป็น ไขมันชนิดที่ดีมีประโยชน์ ช่วยพาไขมันที่อยู่ตามผนังเส้นเลือดเข้าสู่ตับ ไขมันชนิดนี้ถ้าสูงจะลดความเสี่ยงที่มีเส้นเลือดเเดงตีบลงได้
10. ตรวจหาไขมันที่ชนิดไม่ดี(LDL) เป็นไขมันที่ก่อให้เกิดโรคเส้นเลือดเเดงตีบ
11. ตรวจไวรัสตับอักเสบบี(Hepatitis B Virus) ทำให้ทราบว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญของมะเร็งตับ ถ้ายังไม่พบเชื้อเเละไม่มีภูมิต้านทาน ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน ถ้าติดเชื้อเเล้วเเละมีภาวะตับอักเสบเรื้อรังควรปรึกษาเเพทย์เพื่อรับยาต้าน ไวรัส ซึ่งจะลดภาวะตับอักเสบ เเละลดความเสี่ยงโรคมะเร็งตับ
12.ตรวจไวรัสตับอักเสบซี(Hepatitis C Virus) ทำ ให้ทราบว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีหรือไม่ ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของมะเร็งตับ โรคไวรัสตับอักเสบซีนี้สามารถหายขาดได้ โดยการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม
13. ตรวจกามโรค(VDRL) หาเชื้อซิฟิลิส เพื่อป้องกันการติดต่อไปสู่บุตร สามีเเละภรรยา
14. ตรวจมะเร็งตับ(AFP) เป็นการตรวจหาสารที่บ่งชี้ว่ามีมะเร็งตับหรือไม่ ซึ่งข้อมูลจะครบถ้วนเมื่อตรวจอัลตราซาวน์ตับร่วมด้วย
15. ตรวจมะเร็งลำไส่ใหญ่(CEA) เป็นการตรวจหาสารที่บ่งชี้ว่ามีมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไม่ ซึ่งข้อมูลจะครบถ้วน เมื่อตรวจเอ็กซ์เรย์สำไส้(Barium enema) หรือส่องกล้องลำไส้(Colonoscopy) ร่วมด้วยร่วมด้วย
16. ตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชาย(PSA) เป็น การตรวจหาสารที่บ่งชี้ว่ามีความผิดปกติของต่อมลูกหมากหรือไม่ ถ้าค่าสูงเล็กน้อยอาจเป็นโรคต่อมลูกหมากโต เเต่ถ้าค่าสูงมาก ต้องระวังมะเร็งต่อมลูกหมาก

ตรวจปัสสาวะ(UA) เพื่อตรวจหาความผิดปกติทางระบบปัสสาวะ เช่น โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคนิ่ว เเละโรคไตอื่นๆ

การตรวจอุจจาระ (Stool Examination) ตรวจหาพยาธิชนิดต่างๆ เลือดออกในทางเดินอาหาร การติดเชื้อในลำไส้

การตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ (Special Examination)

1. เอ็กซ์เรย์ปอด(Chest x-ray) เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคปอดเเละโรคหัวใจ
2. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(EKG) เป็นการตรวจดูความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจ หัวใจโต เส้นเลือดหัวใจตีบ ฯลฯ ซึ่งเป็นการตรวจที่ง่าย สะดวก ไม่เจ็บปวด
3. ตรวจสมรรถภาพของหัวใจ(EST:exercise stress test) เป็นการตรวจโดยการเดินบนสายพานเลื่อนที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุม ซึ่งจะตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เเละวัดความดันโลหิตไปพร้อมกัน เพื่อวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
4. ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง( Ultrasound Abdomen)เป็น การตรวจอวัยวะในช่องท้องโดยการใช้หลักการสะท้อนของคลื่นเสียง เเสดงเป็นภาพอวัยวะช่องท้องให้เห็นบนจอภาพ ทำให้เห็นความผิดปกติของตับ ม้าม ตับอ่อน ไต ต่อมหมวกไต มดลูก รังไข่ เเละอื่นๆ เเต่ไม่สามารถบอกความผิดปกติของอวัยวะที่เป็นกระเพาะ ลำไส้ได้
5. เอ็กซ์เรย์ลำไส้(Barium Enema) เป็นการเอ็กซเรย์โดยใช้การสวนเเป้ง เพื่อตรวจหาความผิดปกติของลำไส้ใหญ๋
6. ตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยThin prep เป็น วิธีการใหม่ล่าสุดที่นำมาใช้ในการตรวจหาเซลล์ผิดปกติจากปากมดลูกและในช่อง คลอด ข้อมูลการศึกษาวิจัยจากสถาบันทั่วโลกพบว่า การตรวจด้วยวิธีใหม่นี้ ให้ผลดีกว่าการตรวจแบบเก่าประมาณร้อยละ 65 ในสหรัฐอเมริกาและหลายๆ ประเทศ ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยนำตินเพร็พ มาตรวจหาเซลล์มะเร็งจากปากมดลูก แทนวิธีการตรวจแป๊ปเสมียร์แบบเก่า เนื่องจากตินเพร็พ (ThinPrep) ใช้อุปกรณ์เฉพาะ เก็บตัวอย่าง ป้ายนำเยื่อบุผิวจากบริเวณปากมดลูก และนำเซลล์ตัวอย่างที่เก็บมาได้ทั้งหมดใส่ลงในขวดน้ำยา เพื่อรักษาเซลล์ ซึ่งจะทำให้ได้เซลล์ตัวอย่างครบถ้วน แล้วนำเข้าเครื่องอัตโนมัติในการเตรียมเซลล์บนสไลด์แก้ว จะมีการกำจัดสิ่งปนเปื้อนของมูก เซลล์เม็ดเลือด หรือลดการซ้อนทับกันของเซลล์ที่หนาแน่นเกินไป ทำให้เพิ่มโอกาสในการตรวจพบความผิดปกติที่มีอยู่ได้ดียิ่งขึ้น
7. ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยmammogram เป็นการตรวจหาก้อนในเต้านมโดยใช้เครื่องมือพิเศษ ควรตรวจในสุภาพสตรีที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
8. ตรวจความหนาเเน่นของมวลกระดูก(Bone Mineral Density) เพื่อตรวจหาความเสี่ยงของกระดูกหักเเละเป็นเครื่องมือที่ใช้วินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
9. การตรวจส่องกล้องกระเพาะ(Gastroscopy) เพื่อหาความผิดปกติในกระเพาะอาหาร เช่น แผลในกระเพาะอาหาร มะเร็งในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
10. การตรวจส่องกล้องลำไส้(Colonoscopy) เพื่อหาความผิดปกติในลำไส้ใหญ่ เช่น เนื้องอกในลำไส่ใหญ่ เลือดออกในลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
11. การถ่ายภาพรังสีโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan(Computed tomography) เป็น การตรวจทางการแพทย์ด้วยคลื่นเอกซ์เรย์ สามารถสร้างภาพตามแนวตัดและแนวขวาง 3 มิติของอวัยวะที่ต้องการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ โดยใช้คอมพิวเตอร์ความละเอียดสูงในการแปลงสัญญานภาพ คุณภาพของภาพจะชัดเจนกว่าการตรวจอัลตร้าซาวน์
12.การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก หรือ MRI (Magnetic Rasonance Imaging) คือการตรวจร่างกายโดยเครื่องตรวจที่ใฃ้คลื่นสนามแม่เหล็กความเข้มสูงและ คลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ ในการสร้างภาพเหมือนจริงของอวัยวะต่างๆของร่างกายด้วยคอมพิวเตอร์รายละเอียด และความคมชัดสูง เป็นภาพตามระนาบได้ทั้งแนวขวาง แนวยาวและแนวเฉียง เป็น 3 มิติ ภาพที่ได้จึงจะชัดเจนกว่า การตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ แบบ CT Scan ทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกายได้อย่างแม่นยำ การตรวจทางการแพทย์ด้วยเครื่องมือชนิดนี้ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ แก่ร่างกาย และไม่มีอันตรายจากรังสีตกค้าง แต่อาจมีผลทางความรู้สึกต่อผู้กลัวที่แคบ

**** ทั้งหมดนี้ก็เป็นลักษณะของการตรวจสุขภาพเบื้องต้นนะครับ เพื่อหาความผิดปกติต่างๆของร่างกายก่อนการเกิดโรค เพื่อเป็นการป้องกันอีกทางหนึ่งครับ

0 ความคิดเห็น: